วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ผลงานเด่นของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี



ผลงานเด่นของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ผลงานประติมากรรมที่สำคัญ  เช่น  พระบรมราชานุสาวรีย์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชหรือพระปฐมบรมราชานุสรณ์  บริเวณเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  จังหวัดนครราชสีมา  รูปปั้นหล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ที่วงเวียนใหญ่  พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  จังหวัดสุพรรณบุรี  รูปปั้นประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  ถนนราชดำเนินพระประธานพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นชาวอิตาลี ชื่อเดิมคือ คอร์ราโด เฟโรจี ต่อมา ได้เข้ามารับราชการในประเทศไทย และได้รับสัญชาติไทยด้วย นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยอนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญที่เราเห็นตามสถานที่ต่างๆ หลายแห่งนั้นเป็นฝีมือของท่าน 





                   
                             พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่

                                       
         พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่สวนลุมพินี

                                 
          พระบรมรูป สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่อนุสรณ์สถานดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี



                          

                                      

                                            
                                     อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ จ.นครราชสีมา

                                             
                                                  อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

                                     
                                                     อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

                                                 


























   

                                  พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล (องค์ต้นแบบ)


ข้อมูลอ้างอิง
 ที่มา : หนังสือชีวิตและงานบุคคลสำคัญ

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

รายชื่อลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ทั้ง20ท่านในประเทศไทย








“นาย ถ้านายคิดถึงฉัน นายไม่ต้องทำอะไร นายทำงาน” 
      
       วันศิลป์ พีระศรี ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี เวียนมาถึงอีกครั้ง
      
       ปีนี้ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ในรั้วสถาบันการศึกษาอย่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร ยังมีกิจกรรมให้เข้าร่วม ดังเช่นทุกปี
      
       แต่อาจจะมีบางกิจกรรมเพิ่มเติมขึ้นมา เนื่องจากเป็นปี ครบรอบวันวันคล้ายวันเกิดครบ 120 ปี ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี หรือ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย ผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย
      
       โดยเฉพาะ สำนักวิจัยศิลป์ พีระศรี หน่วยงานซึ่งริเริ่มโดย นิพนธ์ ขำวิไล และเคยทำงานเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ศ.ศิลป์ มาหลายอย่าง รวมถึงคิดทำหนังสือ “อาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์” ที่ตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง
      
       ขอใช้โอกาสนี้ เชิดชูเกียรติบุคคล 20 ท่าน ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก ศ.ศิลป์ โดยตรง และต่างพยายามดำเนินชีวิตตามคำสอน 

120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร ผู้จัดการสำนักวิจัยศิลป์ พีระ ศรี
        “การให้รางวัลครั้งนี้ เราไม่ต้องการจะสร้างภาพลักษณ์ให้กับสำนักวิจัยฯ แต่เหมือนกับเป็นการเดาใจอาจารย์ศิลป์ไงครับว่า 120 ปี อาจารย์อยากจะให้รางวัลกับลูกศิษย์คนไหนบ้าง คณะกรรมการหลายๆท่านก็เลยมานั่งเดาใจอาจารย์กัน 
      
       และอย่าแปลกใจนะครับว่าทำไมไม่ให้คนนั้นคนนี้ อย่างบางคนที่ท่านได้ศิลปินแห่งชาติแล้ว เราไม่ให้ฮะ คนละกลุ่มกัน” วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร ผู้จัดการสำนักวิจัยศิลป์ พีระศรี กล่าว
      
       และได้เปิดเผยถึงคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติว่า มีคุณสมบัติ 6 ประการ ดังต่อไปนี้
      
       “1.ยังมีชีวิตอยู่ 2. เป็นลูกศิษย์ที่เคยเรียนกับอาจารย์ศิลป์โดยตรง 3.ยังไม่ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ 4. มีบทบาทในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสาธารณะ 5. เป็นผู้ทำงานศิลปะ สอนหนังสือเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศิลปะ หรือมีอาชีพด้านงานสร้างสรรค์ ตามแนวทางที่อาจารย์ศิลป์ปรารถนา และ 6. ต้องไม่มีประวัติด่างพร้อย หรือผิดศีลธรรมร้ายแรง”
       

       จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า การดำเนินชีวิตตามแนวทางที่ ศ.ศิลป์ ปรารถนานั้น เป็นเช่นใด
      
       “ใช้ศิลปะในการดำรงชีพ หรือใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะนั่นเอง มีความรับผิดชอบต่ออาชีพการงาน ไม่เป็นคนที่เหลวไหล เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้จนเกินความจำเป็น เป็นคนที่มีใจให้กับสาธารณะ ให้กับสังคมส่วนรวม
      
       เพราะว่าบุคลิกของอาจารย์ศิลป์ ท่านเป็นคนที่ตั้งใจทำงานช่วยเหลือสังคมมาก รักลูกศิษย์และเห็นว่าประเทศต้องการคนเข้ามาดูแลศิลปะ ท่านก็เลยสอนให้ลูกศิษย์เห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม ของไทย ตัวอย่างคุณสมบัติเหล่านี้นี่แหล่ะฮะ ที่เป็นคุณสมบัติของผู้ดำเนินชีวิตตามแนวทางที่อาจารย์ศิลป์ปรารถนา”
120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
        แล้วแบบไหนกันที่เป็นการดำเนินชีวิตตามแนวทางที่ ศ.ศิลป์ ไม่ปรารถนา
      
       “ เช่น อาจารย์ศิลป์ไม่ชอบคนที่เห็นแก่ตัว ให้แก่เงิน อยากเด่นดัง เกินความจำเป็น และเป็นคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ แล้วก็เป็นคนที่คอรัปชั่น ขี้โกง คนแบบนี้อาจารย์ศิลป์ไม่ชอบแน่ๆ 
      
       มีคนพูดเสมอว่า ลูกศิษย์รุ่นหลังๆจำนวนมาก ที่เริ่มไม่ฟังคำสอน อยากเด่นอยากดัง หาวิธีสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเอง แล้วก็ลืมที่จะทำงานศิลปะ กลายเป็นทำงานพอดูได้ พยายามสร้างชื่อเสียงมากกว่าสร้างผลงาน อันนี้ผมก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เริ่มไกลจากคำสอนแล้ว 
      
       อยากให้รางวัลนี้ช่วยทำให้เราระลึกถึงคำสอนของอาจารย์ศิลป์ที่เตือนว่า เงินทอง ชื่อเสียง ไม่มีประโยชน์เท่ากับการทำงานที่มีคุณค่า มีหลายคนที่ท่านทำงานเพื่อสาธารณะแต่ก็ยากจน หรือถึงไม่จนก็ไม่รวย บางคนเป็นครูสอนหนังสือที่เด็กรักมาก แต่ก็ไม่ค่อยมีชื่อเสียง ในเรื่องของการทำงานประกวดแสดง เพราะว่ามัวแต่สอนเด็ก หรือบางคนเป็นนักวิชาการที่ความรู้เป็นเลิศเลย แต่ทำไมไม่มีคนเห็นความสำคัญ 
      
       สังคมไทยมีแนวโน้มไปทางด้านทุนนิยมไปเรื่อยๆไงครับจะเชียร์แต่คนเด่นคนดัง ลืมคนที่เขาทำความดี ผมก็เลยคิดว่า การให้รางวัลหรือการเชิดชูเกียรติบุคคลทั้ง 20 ท่าน ที่ต่างเป็นผู้ทำงานแบบปิดทองหลังพระนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ 120 ปี ของอาจารย์ศิลป์ มีความหมาย”
120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
เทพศิริ สุขโสภา
       
120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
ช่วง มูลพินิจ
       
120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
กำจร สุนพงษ์ศรี
       
120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
ลาวัณย์ (ดาราย) อุปอินทร์

        ลูกศิษย์ ศ.ศิลป์ 20 ท่าน ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ ซึ่งปัจจุบัน ต่างมีอายุ 65 ปีขึ้นไปแล้วนั้น มาจากหลายวิชาชาชีพด้วยกัน ทว่าล้วนแต่เป็นสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์ ประกอบด้วย
      
       ลาวัณย์ (ดาราย) อุปอินทร์,ประพันธ์ ศรีสุตา,กำจร สุนพงษ์ศรี,มาโนช กงกะนันทน์,เสวต เทศน์ธรรม,ประทีป สว่างสุข,ช่วง มูลพินิจ,เทพศิริ สุขโสภา, บัณฑิต ผดุงวิเชียร,ปรีชา อรชุนกะ,รัตนา อัตถากร, เสนอ นิลเดช ,พิศิษฐ์ เจริญวงศ์ ,จรูญ อังศวานนท์ แนบ โสถิตพันธุ์,ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ และ ชวลิต เสริมปรุงสุข
      
       ได้ทราบรายชื่อแล้ว หลายคนคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ท่านเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสมควรแก่การได้รับการยกย่อง และมี ศ.ศิลป์ เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานทั้งในแง่ส่วนตัว และเพื่อสังคมตลอดมา 

120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
ตัวอย่างผลงานของ ศ.ศิลป์ พีระศรี
       
120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
ตัวอย่างผลงานของ ศ.ศิลป์ พีระศรี
        แม้แต่คนรุ่นหลังที่ไม่ได้มีโอกาสร่ำเรียนกับ ศ.ศิลป์ โดยตรง และไม่ใช่นักศึกษาศิลปะในรั้วศิลปากร
      
       ทุกสามารถศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ ศ.ศิลป์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้เช่นกัน โดยช่องทางเบื้องต้นที่ แนะนำก็คือ ห้องทำงานของ ศ.ศิลป์ ณ กรมศิลปากร ใกล้วัดพระแก้ว และหนังสือ“อาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์” ที่มีความหนากว่า 700 หน้า ซึ่งตีพิมพ์คำบอกเล่าของเหล่าลูกศิษย์ของ ศ.ศิลป์ กว่า 300 ท่าน
      
   
       ความเมตตาของคนๆนึงที่มีกับคนจำนวนมากที่เป็นลูกศิษย์ บางคนบอกว่าท่านเป็นฝรั่งที่มีจิตใจเป็นคนไทยมากกว่าคนไทยบางคน เช่น รู้สึกเดือดร้อนว่างานด้านโบราณคดี ด้านจิตรกรรมของเมืองไทยจะเสียหายหมดแล้ว ท่านก็พยายามผลักดันเพื่อหาทางช่วยเหลือ หาทุนมาจากยูเนสโกมาให้ ผลักดันให้อาจารย์เฟื้อ (หริพิทักษ์)ไปเป็นคนศึกษาและคัดลอก งานจิตรกรรมเหล่านั้นไว้
      
       ซึ่งสมัยนั้นไม่เห็นมีคนไทยที่เป็นผู้มีอำนาจวิ่งเต้นอะไรขนาดนี้เลย เรื่องอะไรที่สำคัญๆ ของเมืองไทย อาจารย์ศิลป์เป็นผู้เคลื่อนไหว เพราะฉนั้นสิ่งที่คนทั่วไปควรรู้ก็คือ ท่านมีความสำคัญและมีจิตใจที่เรียกว่าเป็นพิเศษกับคนไทย กับลูกศิษย์ แล้วก็มีความผูกพันธ์ในระดับที่ลูกศิษย์รักมาก แม้จะทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันดราม่านิดๆ เวลาที่ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับท่าน”
120 ปี  ศิลป์ พีระศรี  สำนักวิจัยฯ  ยกย่อง 20 ลูกศิษย์  ผู้ทำงานปิดทองหลังพระ
        งานวันศิลป์ พีระศรี 
      
       วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2555 มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ กรมศิลปากร ,สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร และสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงาน วันศิลป์ พีระศรี 120 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
      
       ประกอบด้วย การตักบาตร การวางช่อดอกไม้ การแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2555 โดย เมธา บุนนาค ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(สถาปัตกรรม) หัวข้อ สถาปัตยกรรม คือ ศิลปกรรม (Visual Essay on Architecture)
      
       ตลอดจนการบรรยาย การเสวนา การแสดงดนตรี การแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษา การจำหน่ายของที่ระลึก และการจุดเทียนรำลึก ณ บริเวณอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
      
       นอกจากนี้ยังมีการจัดการแสดงนิทรรศการศิลปะของคณะวิชาและหอศิลป์ ประกอบด้วย
      
       การแสดงศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ครั้งที่ 29 หัวข้อ “วาทศิลป์ พีระศรี” วันที่ 15 กันยายน - 15 ตุลาคม พ.ศ.2555 ณ PSG Art Gallery คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
      
       นิทรรศการสถาปัตย์ปริวรรต ครั้งที่ 14 วันที่ 15 - 30 กันยายน พ.ศ.2555 ณ หอศิลปะสถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
      
       Eastern Spirit : นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี 2555 วันที่ 15 - 30 กันยายน พ.ศ.2555 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์
      
       นิทรรศการ “ลูกศิษย์คิดถึงอาจารย์ ” ครั้งที่ 2 วันที่ 10 - 30 กันยายน พ.ศ.2555 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร















ข้อมูลอ้างอิง

http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000112074

บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย



บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย






                         ประวัติศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี 

        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ CORRADO FEROCI เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 ตำบลซานยิโอวานนี เมืองฟลอเรนซ์  ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ  นายอาร์ทูโด มารดาชื่อ นางซันตินา มีอาชีพทำธุรกิจการค้า  ท่านได้สมรสกับนาง  FANNI  VIVIANI มีบุตรด้วยกัน 2 คน บุตรหญิงชื่ออิซาเบลลา ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจ  บุตรชายชื่อ  โรมาโน  เป็นสถาปนิก 

        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นชาวฟลอเรนซ์ เมืองที่เต็มไปด้วย ศิลปะ เมื่อเยาว์วัยท่านชื่นชมผลงานศิลปกรรมของไมเคิล แองเจโล ประติมากรเอกของโลกชาวฟลอเรนซ์ เมื่อโตขึ้นจึงได้เข้าศึกษาศิลปะที่ ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ จบการศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อยเพียง 23 ปี เท่านั้น ได้รับประกาศนียบัตรช่างเขียนช่างปั้นและเข้าสอบชิงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 

        ผลงานในวัยหนุ่มที่ได้รับยกย่องและมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะของ ศิลปิน  คือ  ได้รับรางวัลชนะการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์หลายครั้ง 


ชีวิตในวัยหนุ่ม 

        ในวัยหนุ่มของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นวัยที่มีพลัง ดังนั้นท่านจึงไม่พอใจในสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ในสังคมที่ เจริญแต่เพียงด้านวัตถุในประเทศอิตาลีสมัยนั้น เมื่อท่านได้ทราบข่าวว่า รัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ต้องการช่างปั้นชาวอิตาเลี่ยน เพื่อเข้ามารับราชการงานอนุสาวรีย์ในประเทศ ไทย ท่านจึงยื่นความจำนงพร้อมผลงานเข้าแข่งขันกับศิลปินอีกจำนวนมาก ในที่ สุดรัฐบาลไทยได้เลือก Prof. C. Feroci เข้ามารับราชการในประเทศไทย

 เริ่มแรกในเมืองไทย 

        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ออกเดินทางโดยทางเรือจากประเทศอิตาลีถึงกรุงสยาม ในราวต้นเดือนมกราคม พ. ศ. 2466 อายุได้ 31 ปี เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้นของกรมศิลปากร กระทรวง วัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม ปีเดียวกัน โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้า ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปินเอกแห่งกรุงสยามเป็นองค์อุปถัมภ์

        ในระยะแรกเป็นช่วงเวลาที่ท่านต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมแวดล้อม และการเมือง อีกทั้งยังต้องสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีอำนาจในสมัย นั้น ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน รัฐบาลไทยจึงได้ยอมรับท่านเรื่อยมา  เช่น  มอบหมายให้ปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เท่าพระองค์จริง ปัจจุบันประดิษฐานใน ปราสาทพระเทพบิดร  และปั้นพระรูปสมเด็จฯ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฯลฯ

 งานอนุสาวรีย์ในเมืองไทย 
        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประสงค์ที่จะใช้บุคลากรที่เป็นคนไทยในการทำงานศิลปะ เมื่อท่านได้มี โอกาสจัดสร้างอนุสาวรีย์ ท่านได้ฝึกฝนกุลบุตรกุลธิดาของไทยให้ได้ศึกษาเรียน รู้วิชาการปั้น และการหล่อโลหะขนาดใหญ่ การจัดสร้างอนุสาวรีย์ในยุคสมัยของท่านดังกล่าว นับเป็นยุคแรกที่ได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญขึ้นในประเทศไทย

 ผลงานที่สำคัญซึ่งปรากฏเห็นในปัจจุบันมีดังนี้ 
        • พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขนาด 3 เท่าคนจริง ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านเป็นช่าง ปั้น และเดินทางไปควบคุมการหล่อที่ประเทศอิตาลี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2472

        • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477

        • รูปปั้นหล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485

        • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484

        • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493

        • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497  

        • รูปปั้นประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน

        • พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 25 พุทธศตวรรษ ที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ .2498 ฯลฯ

        นอกจากนั้นยังมีโครงการที่ทำยังไม่แล้วเสร็จอีกคือ พระบรมรูปพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน   อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  จังหวัดลพบุรี เป็นต้น





 ผลงานด้านการศึกษา 
        ด้วยเหตุที่ท่านได้ฝึกฝนเยาวชนไทยให้เข้าช่วยงานปั้นอนุสาวรีย์  จึงเป็นแรงบันดาลใจท่านจัดตั้งโรงเรียนของทางราชการขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยสอนเฉพาะวิชาประติมากรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ทางกระทรวงธรรมการได้เห็นความสำคัญในสิ่งที่ท่านทำ จึงได้จัดตั้งขึ้น เป็นโรงเรียนศิลปากร  จัดทำหลักสูตรศิลปกรรมชั้นสูง  4  ปี  ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี  พ.ศ. 2486  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาสังกัดทบวง มหาวิทยาลัย

 ผลงานด้านเอกสารทางวิชาการ 
        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีผลงานทางด้านเอกสารทางวิชาการ ตำรา และบทความมากมาย ซึ่งล้วนแต่ให้ความรู้ทางศิลปะ  พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าของศิลปะ เช่น ทฤษฎีของสี ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลป์ คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะ และราคะจริต อะไรคือศิลปะ ภาพจิตรกรรมไทย พรุ่งนี้ก็ช้าเสียแล้ว ฯลฯ ตลอดเวลาที่ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ได้เดินทางเข้ามารับราชการและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ท่านได้ ทุ่มเทความรัก ความรับผิดชอบให้แก่งานราชการอย่างมหาศาล แม้ว่าท่านอยู่ในฐานะของชาวต่างชาติก็ตาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ท่านได้โอนสัญชาติเป็นไทยและเปลี่ยนชื่อเป็นไทย พ.ศ. 2502 สมรส กับ คุณมาลินี เคนนี และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตลอดอายุของท่าน

        ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกใน ลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริรราช เมื่อคืนวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น 38  ปี 4 เดือน



คลิปอัตตะชีว ของ  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี 



ขอขอบพระคุณ ข้อมูลอ้างอิง 


https://www.youtube.com/watch?v=vp8U07ou_tM

http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=13&id=16887#






วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ





หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ


ภาพ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ


หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 


สร้างขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการของธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และศูนย์สังคีตศิลป์เดิม ปรับปรุงใหม่เป็นหอศิลป์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานรางวัลและเสด็จทอดพระเนตรผลงานจิตรกรรมบัวหลวง ต้นแบบภาพปัก ณ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาอีกหกท่านได้ทูลเกล้าฯถวายเงินจำนวน 7 ล้านบาท เพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย พระองค์ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินจำนวนนี้แก่ นายชาตรี โสภณพนิช ให้เป็นทุนประเดิมในการสร้างหอศิลป์ สำหรับใช้เป็นที่จัดการแสดงของศิลปินไทยโดยเฉพาะศิลปินรุ่นใหม่ที่มีผลงานดี เด่น แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตลอดจนศิลปินอาวุโสที่ได้รับการยกย่อง และได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย เป็นมงคลนามว่า หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2546 แต่ละชั้นจัดแสดงนิทรรศการหัวข้อต่างๆ เช่น ภาพจิตรกรรมบัวหลวง และนิทรรศการหมุนเวียน ด้านนอกอาคารมีร้าน Gallery Shop ขายของที่ระลึกจากผลงานทางศิลปะของศิลปินหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืด สูจิบัตร หนังสือและของที่ระลึกจากนิทรรศการ และมีร้าน Gallery Caf? จำหน่ายกาแฟสดรสไทยสไตล์อิตาเลียน บรรยากาศนั่งสบาย ริมถนนราชดำเนิน เปิดวันพฤหัสบดีถึงวันอังคารเวลา 10.00–19.00 น. ปิดวันพุธ ค่าเข้าชม 20 บาท (นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ หรือ แสดงบัตรประจำตัวนักเรียน เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ผู้สูงอายุ พระภิกษุ ไม่เสียค่าเข้าชม) สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2281 5360-1 โทรสาร 0 2281 5359 หรือ www.queengallery.org , e-mail: info@queengallery.com


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หอศิลป์สมเด็จพระนางเกล้า ประวัติ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หอศิลป์สมเด็จพระนางเกล้า ประวัติ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หอศิลป์สมเด็จพระนางเกล้า ประวัติ








ข้อมูลอ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=fJMKZ22Aqhg 
http://www.oknation.net/blog/Bansuan/2013/07/27/entry-2

หอศิลป์จามจุรี



หอศิลป์จามจุรี 



ประวัติการก่อตั้งหอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล เป็นอธิการบดี ได้แสดงว่าเห็นถึงความสำคัญของงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าของศิลปินไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ.2516 ได้เริ่มรวบรวมและจัดหางานศิลปกรรมของศิลปินที่มีชื่อและมีศักยภาพในตอนนั้น ต่อมาประมาณ พ.ศ.2527 จึงจัดให้มีโครงการรวบรวมผลงานศิลปกรรมขึ้น โดยมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 26 ปี งานศิลปกรรมดังกล่าวได้นำไปติดตั้งในอาคารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มเสริมสร้างบรรยากาศทางศิลปะ อันจะนำไปสู่การปลูกฝังสุนทรียศิลป์ และการจรรโลงจิตใจของชาวจุฬาฯ โดยทั่วไป ตลอดจนผู้พบเห็นผลงานศิลปกรรมเท่าที่รวบรวม และจัดหามาได้มีจำนวนมาก จนปัจจุบันนับได้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของประเทศไทย และสามารถแสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมในประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มแรกของยุคศิลปะเฟื่องฟูมาจนถึงปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเห็นควรจัดตั้งหอศิลป์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการสานต่อความคิดในเชิงสนับสนุน สร้างสรรค์และเผยแพร่งานศิลปกรรม และศิลปินไทยอีกขั้นหนึ่ง โดยได้กำหนดฤกษ์อันเป็นมงคลยิ่งในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2544 ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อัครศิลปินของชาติ
องค์กร
เป็นส่วนหนึ่งในความรับผิดชอบของสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานหอศิลป์
“เป็นองค์กรแบบอย่างในการเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา และศิลปินในทุกระดับได้จัดแสดงและเผยแพร่งานศิลปะโดยไม่หวังผลกำไร” (Not for profit organization)
พื้นที่
ชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคารจามจุรี 8

Opening hours: 
10.00 - 19.00
Phone: 
0-22183709 / 085-9457746

Email: 
Address: 
หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี8 ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330



ขอบคุณสำหรับข้อมูล : Chamchuri Art Gallery : หอศิลป์จามจุรี